ต้นสำมะงา
ชื่ออื่นๆ : เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์) คากี (ภาคใต้) สัมเนรา (ระยอง) สักขรีย่าน (ชุมพร) สำปันงา (สตูล) สำมะลี งา (ทั่วไป, ภาคตะวันออก) Embrert, Garden quinine, Glory bower, Sorcerers bush, Wild jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.
ชื่อวงศ์ : Labiatae (Lamiaceae)
ชื่อสามัญ : Garden Quinine, Petit Fever Leaves, Seaside Clerodendron
ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่มรอเลื้อย
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้นเรียบสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ ก้านดอกสั้น ดอกเป็นหลอดยาวปลายเป็นแฉกตื้น ๆ 5 แฉก กลีบดอกสีขาวอมชมพู ก้านเกสรตัวผู้สีม่วงแดง ผลเดี่ยวกลมรี เป็นพูเล็กน้อย เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีดำ
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น : ใบสดต้มน้ำใช้ทำความสะอาดแผล ใบแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้ติดเชื้อ ใบและผลสดต้มรวมกับเหล้าพออุ่น ทาแก้รอยฟกช้ำหรือบวม รากแห้งต้มกับน้ำดื่ม แก้ไข้หวัด ตับอักเสบและแผลบวม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://medthai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B2/