Super User
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
- มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์วิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
- มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
- ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเอง ดังนี้
- การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมการกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
สภาพทั่วไป
ขนาดและที่ตั้ง
เทศบาลตำบลตาดทอง เดิมมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองยโสธรไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดยโสธรประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ในเขตการปกครอง จำนวน 41 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ปกครองครอบคลุม 13 หมู่บ้าน
สภาพภูมิศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ
ลักษณะภูมิประเทศในเขตเทศบาลตำบลตาดทอง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับทำกสิกรรม พื้นที่ดอนบางส่วนเป็นที่อยู่อาศัยไม่มีลำน้ำใหญ่ไหลผ่าน มีเพียงลำน้ำทวนที่เป็นเขตแบ่งกับเทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น แหล่งน้ำอื่นๆ มีเพียงลำห้วยเล็กๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดปี การกสิกรรมอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะเป็นภูมิอากาศแบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนจะร้อนจัดและแห้งแล้งมีอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 14 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่ 27.2 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และจะหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
สภาพภูมิศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ
ลักษณะภูมิประเทศในเขตเทศบาลตำบลตาดทอง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับทำกสิกรรม พื้นที่ดอนบางส่วนเป็นที่อยู่อาศัยไม่มีลำน้ำใหญ่ไหลผ่าน มีเพียงลำน้ำทวนที่เป็นเขตแบ่งกับเทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น แหล่งน้ำอื่นๆ มีเพียงลำห้วยเล็กๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดปี การกสิกรรมอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ จดแนวเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำใหญ่ และเทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร
- ทิศใต้ จดแนวเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร
- ทิศตะวันออก จดแนวเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคู และองค์การบริหารส่วนตำบลขุมเงิน อำเภอเมืองยโสธร
- ทิศตะวันตก จดแนวเขตเทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร
เขตการปกครอง
เขตปกครอง เทศบาลตำบลตาดทองมีพื้นที่ในการปกครองทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านตาดทอง นายประสาท วัฒนาไชย ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 2 บ้านคอนสาย นายวรพล แก้วลี ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 3 บ้านดอนมะยาง นายชาติ ศรีสุวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 4 บ้านหนองแฝก นายทองขาว ทาสมบูรณ์ ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 5 บ้านสะเดา นายสอน หาไชย ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 6 บ้านสะเดา นายสุริยา สุวรรณเพ็ชร ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 7 บ้านดอนแฮด นางบุญธรรม ศรีสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 8 บ้านศาลาแดง นายคัมภีย์ พรมโสม ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 9 บ้านตาดทอง นางคนึงนิด เวชกามา ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 10 บ้านกิโลสาม นายคำบุ ทองมณี กำนันตำบลตาดทอง
- หมู่ที่ 11 บ้านตาดทอง นายชลวุฒิ มหาชนะวงษ์ ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 12 บ้านประชาสรรค์ ศักดิ์สิทธิ์ ศรีดารา ผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 13 บ้านสะเดา นายธงชัย กมลเลิศ ผู้ใหญ่บ้าน
ประวัติความเป็นมา
บ้านตาดทองเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยทวาราวดี ตามตำนานอุรังคนิทาน (พระธาตุพนม) มีข้อความว่า ชาวสะเดาตาดทองได้นำของมาช่วย พบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นแหล่งฝังศพและมีเศษภาชนะแบบที่พบในทุ่งกุลาร้องไห้ มีเนินดินขนาดราว ๕๐๐ X ๖๕๐ เมตรรูปวงรี มีคูน้ำล้อมรอบ แต่ปัจจุบันทางหลวงตัดผ่านกลางเนิน จนแบ่งออกเป็นสองฟากและมีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่น
ตำบลตาดทอง เป็นพื้นที่ที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ สภาพที่ตั้งมีลักษณะเป็นเกาะหรือที่เนินสูง ปกครองทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา
เทศบาลตำบลตาดทอง เดิมมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองยโสธรไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๕ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดยโสธรประมาณ ๖ กิโลเมตร
https://thadthong.go.th/info-center-7-1/itemlist/user/904-superuser?start=2460#sigProGalleriae5909ac961